6 ซุปเปอร์แร่ธาตุช่วยร่าง หลังเครียดเรื้อรัง



#firstthaintp

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP

เราทุกคนต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นอกจากการผ่อนคลายความเครียด หลายคนหาซุปเปอร์ฟู้ด (ที่เขาว่าดี) ในท้องตลาดมากิน เพื่อให้ความเครียดบรรเทาลง แต่ก็ทำได้ชั่วคราว เพราะไม่รู้มาก่อนว่า มี 6 ต่อมในร่างกาย ที่ช่วยสร้างสมดุลการทำงานของร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และต่อมเหล่านั้นต้องการแร่ธาตุแตกต่างกัน ทั้งนี้หากเรารู้ว่าคืออะไร และกินอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านั้น ก็จะช่วยแก้โรคเครียดเรื้อรังได้อย่างมีปรัสทิธิภาพมากกว่า

ความเครียดคืออะไร

ความเครียดถ้าแค่การจดจ่อตั้งใจทำอะไรสักอย่างเราถือว่าทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วงเพื่อเป้าหมายสัมฤทธิ์ผลนับเป็นภาวะปกติของมนุษย์ที่ไม่ก่อปัญหาอะไรต่อสุขภาพตรงกันข้ามการไม่มีเป้าหมายการดำเนินชีวิตไปอย่างเลื่อนเปื้อนล่องลอยกลับก่อปัญหาต่อชีวิตตนเองครอบครัวและอาจกลายเป็นภาระของสังคม

ความเครียดที่ก่อปัญหาสุขภาพคือการจดจ่อตั้งใจแบบที่จะต้อง“เอาชนะ” คิดแผนนำเสนอแผนเพื่อให้เพื่อนร่วมงานยอมรับชักจูงทุกคนในทีมเพื่อให้ลงคะแนนให้ไอเดียเราทั้งนี้ต้องไม่ให้มีอะไรผิดแผนมิเช่นนั้นเราจะต้องเริ่มใหม่คิดแผนแบบซับซ้อนเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปได้ตามที่เราต้องการ

สถานการณ์เช่นนี้สามารถเกิดได้กับทุกคนทำงานทุกคนโดยเฉพาะผู้อ่านชีวจิตที่อยู่ในวัยของนักบริหารที่ต้องวางแผนและใช้กระบวนการดังกล่าวข้างต้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าซึ่งรู้ไหมว่าเราได้ปล่อยให้ต่อมอะดรีนัลหรือต่อมหมวกไตปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล(และบางทีสถานการณ์ดุเดือดจัดก็ปล่อยฮอร์โมนอิพิเดฟรินหรืออะดรีนาลีน) ออกมาทำงานทำงานทำงานและทำงาน

การทำงานของความเครียด

เราได้ยินฮอร์โมนความเครียดหรือคอร์ติซอลกันมาเสมอหลายคนก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ต้องจดจ่อและบ่อยครั้งก็เพิ่มดีกรีเป็นการเอาชนะ ทั้งในส่วนตัวงานเอง และการเอาชนะเพื่อน่วมงานคนอื่น และเมื่อต่อมหมวกไตของเราหลั่งคอร์ติซอลได้ต่อมหมวกไตคนอื่นก็หลั่งได้เหมือนกันฉะนั้นการจะให้สำเร็จในงานและในหลายๆเรื่องในชีวิตประจำวันเราจึงต้องแข่งกันหลั่งคอร์ติซอล

ร่างกายเราทุกคนทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลได้แต่รู้ไหมคะว่าสำหรับคนสมัยโบราณคอร์ติซอลจะหลั่งในช่วงเวลาที่เกิดไฟไหม้ควายป่าบุกหรือเพื่อนบ้านในหมู่บ้านถูกเสือกัดเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะหลั่งในสถานการณ์“fight to flight” หมายถึงพร้อมสู้และพร้อมหนีซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปดึงเอาพลังงานจากตับ(ในรูปไกลโคเจน) พร้อมกับสะสมกลับไปยังตับพร้อมกันด้วยและดึงไขมันจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆออกมาแปลงเป็นพลังงาน(เรียกว่ากระบวนการglyconeogenesis) เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานมากกว่าปกติพร้อมสำหรับการสู้รบและการจัดการอย่างเร่งด่วนทุกรูปแบบ

สถานการณ์แบบนี้ ไม่เป็นไรปล่อยให้ต่อมหมวกไตทำงานไปต่อมน้อยๆอยู่เหนือไตขนาดเล็กกระจิ๋วน่ารักน่าเอ็นดูแต่พลังการทำงานและการควบคุมความเครียดนั้นมากมาย ต่อมหมวกไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบเอ็นโดคริน(Endocrine) ซึ่งเป็นระบบการทำงานของร่างกายที่ซับซ้อนที่สุดระบบหนึ่ง

หนึ่งเนื่องจากต่อมหมวกไต(เล็กเกินไป) เลยต้องใช้นายใหญ่ของร่างกายนั่นคือสมองเป็นตัวช่วย(ในการดึงพลังงานออกมาจากร่างกายทุกส่วนนอกเหนือจากตับที่เป็นตัวสะสมพลังงาน) และเมื่อนายใหญ่ออกโรงซึ่งคือต่อมพิทูอิทารี่และต่อมไธลามัสครั้งหนึ่งก็สะเทือนไปถึงต่อมไทรอยด์(ซึ่งอ่อนไหวและบอบบางแต่สำคัญมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อนางถูกกระทบด้วยฮอร์โมนคอร์ติซอล) ฮอร์โมนเพศ(ได้แก่เทสโทสเตอโรนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน)

แถมการออกโรงของสองต่อมที่สำคัญในสมองยังก่อความสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปยังเซลล์เล็กเซลล์น้อยทั่วร่างกายเกิดเป็นการอักเสบไปทั่วสรรพางกายเพิ่มความดันโลหิตและคลอเลสเตอรอล(เมื่อเกิดการอักเสบคลอเรสเตอรอลจะออกมาเพล่นพล่านเพื่อทำหน้าที่รักษาอาการอักเสบของเซลล์

มิหนำซ้ำระหว่างที่ฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานฮอร์โมนอินซูลินซึ่งตามปกติทำหน้าที่แปลงแป้งและน้ำตาลในการบริโภคไปเป็นกลูโคสจุดตัวไมโตคอนเดรียให้เป็นพลังงานให้ร่างกายใช้ก็หยุดทำงาน(นึกถึงร่างกายเป็นโรงงานฮอร์โมนอินซูลินเหมือนพนักงานชั้นผู้น้อยทำงานหน้าสายพานกะกลางวันหรือตอนเรากินอาหารฮอร์โมนอินซูลินทำงานกะกลางคืนหรือตอนเราไม่กินอาหารหรือเรานอนหลับฮอร์โมนกลูคากอนก็จะทำงานแทนนี่คือความเป็นปกติครั้นฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเหมือนหัวหน้างานต้องออกโรงทั้งอินซูลินและกลูคากอนซึ่งหลั่งจากตับอ่อน(pancreas) ทั้งคู่ก็พักการทำงานไปเองโดยปริยายเช่นนั้นแล)

ความโชคร้ายอยู่ตรงที่ระหว่างที่คอร์ติซอลออกโรงต่อมพิทุยทารี่และต่อมไธลามัสขึ้นแท่นบัญชาเวลาเรากินอะไรเข้าไปข้าวขนมน้ำหวานผลไม้อินซูลินก็แปลงมันไปเป็นไกลโคเจนและไตรกลีเซอไรด์สะสมลูกเดียว

เมื่อไกลโคเจนและไตรกลีเซอไรด์อยู่ในร่างกายเราจะ“อ้วน” หรือมิเช่นนั้นน้ำตาลในเลือดก็สูงหรือเป็นโรคยอดฮิตปัจจุบัน…ไขมันพอกตับ

ส่วนต่อมไทรอยด์ต่อมสำคัญแต่บอบบางเพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งเมื่อไร(น่าจะเกือบทุกวันสำหรับคนทำงานปัจจุบันนี้) T3T4 ที่เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งปกติจะหลั่งออกมาอย่างสมดุล เพื่อประสานการทำงานของฮอร์โมนทั่วร่างกาย และควบคุมกการใช้พลังงาน ก็เสียสมดุล ฉะนั้นเมื่อคอร์ติซอลปรากฎT3T4 ก็ทำงานผิดปกติส่งผลต่อฮอร์โมนในระบบต่างๆทำงานผิดปกติไปด้วยยกตัวอย่างเช่นฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยนอนหลับก็ไม่ทำงานคนที่อยู่ในภาวะเครียดจึงนอนไม่หลับ

ส่วนฮอร์โมนเพศทั้งโปรเจสเตอโรนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจนล้วนแต่ทำงานผิดปกติโปรเจสเตอโรนซึ่งช่วยให้เกิดความสงบในใจก็ลดลงเราจึงวุ่นวายมากขึ้นเทสโทสเตอโรนก็มากขึ้นในผู้หญิงและลดลงในผู้ชายในทางตรงกันข้ามเอสโตเจนจะเพิ่มขึ้นในผู้ชายและลดลงในผู้หญิงสามีภรรยายุคใหม่ที่ต่างทำงานท่ามกลางบรรยากาศขึงเครียดทุกคนปล่อยคอร์ติซอลใส่กันจึงกลายเป็นคู่ที่มีบุตรยากและสาวโสดก็มักมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร

ช่วยระบบเอนโดคริน ด้วยแร่ธาตุ

ตลอดมาเราแก้ปัญหาแบบแยกส่วนไทรอยด์ป่วยเราหาวิธีปรับอาหารและอารมณ์เพื่อการทำงานของไทรอยด์ถ้ามีปัญหาฮอร์โมนเพศเราก็หาสมุนไพรอาหารและไลฟสไตล์เพื่อให้ฮอร์โมนเพศยังดำรงอยู่หรือถ้ามีปัญหาเรื่องภาวะดื้ออินซูลิน(insulin resistance) เราก็มาลดของหวานลดแป้ง

ในฐานะนนักบำบัดโรคด้วยอาหาร (NTP)ได้รับการสอนมาว่านอกจากหาวิธีปรับไลฟสไตล์ลดเครียดแล้วเราต้องย้อนกลับไปยังประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆที่เป็นตัวตั้งต้นของฮอร์โมนในระบบเอนโดคริน โดยเฉพาะเวลาที่คอร์ติซอลหลั่งและร่างกายระดมพลังงานมาใช้นั้นต้องมีแร่ธาตุและวิตามินมหาศาลในการขับเคลื่อนร่างกายในช่วงเวลาดังกล่าว(ระบบนี้ซับซ้อนทำงานกันเป็นวงมโหฬี) ฉะนั้นในวันเครียดตึงต้องใช้โปรเจ็คของตนเองได้รับการพิจารณาจากเจ้านายและลูกค้าคอร์ติซอลหลั่งทั้งร่างจึงต้องระดมสรรพกำลัง(สารอาหารทั้งหมดที่มี) เพื่อให้เราได้ในสิ่งที่คนปัจจุบันเรียกว่า“ประสบความสำเร็จ”

เช่นนี้เองเราจึงมาดูต้นทางอาหารที่เข้าไปบำรุงดูแลฮอร์โมนอันเป็นต้นทางของฮอร์โมนต่างๆในระบบเอนโดครินได้แก่

  • ไขมันดีเพื่อฮอร์โมนสเตียรอยด์(ตัวตั้งต้นของฮอร์โมนเพศและคอร์ติซอล) และฮอร์โมนอิลโคซานอยด์(ตัวตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ)
  • โปรตีนดีเพื่อฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนเปบไทด์และฮอร์โมนที่เป็นตัวตั้งต้นของการสร้างโปรตีน
  • แป้งไม่ขัดขาวเพื่อฮอร์โมนสเตียรอยด์
  • ไอโอดีนเพื่อฮอร์โมนไทรอยด์

ทั้งนี้แร่ธาตุจำเป็นห้ามขาดและห้ามเกินประจำต่อมต่าง ๆในระบบเอนโดครินได้แก่

                           ต่อม                             แร่ธาตุ
ไทรอยด์ไอโอดีน
โพสเตต(PROSTATE)สังกะสี
พิทุยทารี่แมงกานีส
ตับอ่อนโครเมี่ยม
โกนาดส์(GONADS)ซีลีเนี่ยม
ต่อมหมวกไตทองแดง

เมื่อเป็นแบบนี้แล้วสิ่งที่ควรกินเป็นพื้นฐานคืออาหารหลักที่ดีนั่นได้แก่แป้งไม่ขัดขาวหรือคอร์โบไฮเดรตคุณภาพดีโปรตีนที่ดีไม่มีสารเคมีเจือปนไขมันดีที่ไม่มีสารเคมีเจือปนพร้อมทั้งเติมแร่ธาตุและวิตามิน

การกินอาหารธรรมชาติไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปหลากหลายและพอเพียงก็ช่วยดูแลสุขภาพได้นอกเหนือจากการจัดการความเครียดของเราเอง

วิธีกินเพิ่มประสิทธิภาพระบบย่อย

  1. เคี้ยวช้าๆอย่างน้อยคำละ15 -20ครั้ง
  2. ดื่มน้ำ(เปล่า) ก่อนหรือหลังอาหาร ไม่ดื่มระหว่างการกินอาหาร
  3. ไม่ดื่มน้ำหวาน กินขนมหวาน หรือผลไม้หวาน หลังอาหารทันที
  4. นั่งกิน ไม่ยืนหรือเดินกิน

ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสารชีวจิต

photography by ueam


© 2024 FIRSTTHAINTP.COM