4 เหตุผลอันตราย ไม่ควรกินโปรตีนลีน



#firstthaintp

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP

หลายคนลดความอ้วนและเพิ่มกล้ามเนื้อ ด้วยการหยุดคาร์โบไฮเดรต และงดไขมัน ให้ร่างกายใช้พลังงานจากโปรตีนปราศจากไขมัน ซึ่งเรียกกันว่า โปรตีนลีน แต่ช้าก่อน การกินแบบนี้อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว

            แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้รูปร่างสวยสมส่วน สมปรารถนาของหนุ่มสาวสมัยนี้ แต่การจะช่วยให้สุขภาพดี ปราศจากโรคภัยคุกคาม ร่างกายไม่เสื่อมโทรมก่อนวัย คุณนอร่า เกดกัวดาสนางพยาบาลวิชาชีพและนักบำบัดโรคด้วยอาหารชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Primal Fat Burner, going beyond the ketogenic diet to live longer, smarter and healthierช่วยมาไขข้อข้องใจดังกล่าว

  1. เกิดแอมโมเนียและยูเรียในร่างกาย

เนื่องจากโปรตีนประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน อ็อกซิเจน ไฮโรเจน ไนโตรเจน และธาตุอื่น ๆ อีก เรียกว่า “deamination” ต่างจากไขมันและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน อ็อกซิเจน และไฮโดรเจนเท่านั้น ทั้งนี้ไนโตรเจนจากโปรตีน เมื่อเข้าไปในร่างกาย ผ่านกระบวนการย่อย ไนโตรเจนจะกลายเป็นแอมโมเนียและยูเรีย ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย กลายเป็นภาระของตับและไตในการขับออกจากร่างกาย

  • เป็นภาระของระบบย่อยและระบบการเผาผลาญ

ร่างกายสามารถรับโปรตีนได้ในปริมาณจำกัด โดยเฉพาะหากจำกัดการกินไขมัน ฉะนั้นหากกินโปรตีนลีนวันละ 50% ของอาหารที่กินเข้าไป ร่างกายโดยเฉพาะระบบย่อยและเผาผลาญจะไปถึงจุดที่เรียกว่า‘protein ceilling’ เสี่ยงต่อภาวะแก่ก่อนวัย (นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนออกกำลังกายหนัก เช่น วิ่งมาราธอน ไตรกีฬา และเน้นกากรินโปรตีนลีน มีผมขาว ผิวพรรณเหี่ยวแห้ง ดูแก่ก่อนวัย) รวมทั้งเนื้องอก

วิธีที่จะช่วยให้ระบบย่อยและเผาผลาญทำงานเป็นปกติคือ การกินไขมัน หรือโปรตีนที่มีส่วนประกอบของไขมัน ซึ่งไขมันจะเข้าไปช่วยทำให้โปรตีนเจือจาง ช่วยให้ระบบย่อยและระบบเผาผลาญไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั้งไขมันยังช่วยในการนำโปรตีนไปใช้ในร่างกายอีกด้วย

  • เกิดภาวะไฮเปอร์แอมโมเนีย

จากข้อสอง หากยังกินโปรตีนลีน และไม่กินไขมันเลย ร่างกายอาจถึงภาวะไฮเปอร์แอมโมเนีย (hyperammonemia) หมายความว่า แอมโมเนียก่อโทษต่อร่างกาย เกิดเป็นอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ

  • ไม่แก้ปัญหาภาวะดื้ออินซูลิน จึงไม่ช่วยลดโรค

ปัญหาใหญ่โตระดับโลก ที่กลายเป็นความห่วงใยของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกคน คือ ปัญหาระบบย่อยและการเผาผลาญ ล่าสุด Gillings School of Global Public Health โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธคาโรไลนา สหรัฐอเมริกา รายงานว่า ชาวอเมริกันมีสุขภาพระบย่อยและเผาผลาญดีเพียง 12%ทั้งนี้แบ่งออกเป็นอาการผิดปกติของระบบการควบคุมกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ จำนวนเอชดีแอล และเส้นรอบพุง ล้วนแล้วแต่นำไปสู่โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ

            ทั้งนี้ปัญหาเหล่านี้มาจากภาวะดื้ออินซูลิน หรืออธิบายให้เห็นภาพคือ การที่เรากินอาหารที่ทำให้ร่างกายต้องหลั่งอินซูลินบ่อยและมากเกินไป จนสุดท้ายตับอ่อนล้าและหยุดหลั่งอินซูลิน ลงเอยด้วยภาวะดื้ออินซูลิน

            ปัจจุบันการกินโลว์คาร์บไฮแฟต หรือการกินไขมันสูงคาร์โบไฮเดรตต่ำ ซึ่งอาจจะเป็นสูตรอาหารพาลิโอ หรือสูตรอาหารคีโตก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายในการช่วยให้ร่างกายพักการทำงานของต่อมหมวกไตในการผลิตอินซูลินบ้าง โดยให้ตับเป็นตัวปล่อยคีโตนออกมาเป็นพลังงาน ซึ่งจะช่วยรักษาภาวะดื้ออินซูลินได้

            ตรงกันข้าม การกินโปรตีนลีน (แม้จะลดคาร์โบไฮเดรตไปแล้ว) ไม่ได้แก้ปัญหาที่กำลังน่าเป็นห่วงนี้เลย เนื่องจากในการย่อยโปรตีน ตับอ่อนก็ต้องหลังอินซูลิน เพื่อมาแปลงโปรตีนเป็นกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานอยู่ดี 

            อย่างไรก็ตามโปรตีนยังมีความจำเป็นต่อร่างกาย ในการสร้างสารเคมีในสมอง ที่จะช่วยสร้างสมดุลอารมณ์ อีกทั้งร่างกายยังต้องอาศัยโปรตีนในการสร้างกระบวนการขับพิษในตับ นอกจากการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทั้งนี้เราจึงจำเป็นต้องเลือกกินโปรตีนให้เป็นดังนี้

  • กินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยข้าวหรือธัญพืชถ้าเป็นปลาก็ต้องไม่ใช่แบบที่เลี้ยงในกระชัง ถ้าเป็นเนื้อไก่ ก็ควรเป็นไก่บ้าน
  • ไม่ควรกินโปรตีนมากกว่าวันละ8 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม
  • กินโปรตีนแบบที่เป็นอาหาร(whole food) และไม่ควรเลี่ยงไขมันที่ติดมากับเนื้อสัตว์ที่เรากิน อีกทั้งยังควรกินให้หลากหลาย พืชผักหลากสี เพื่อให้ร่างกายจัดสมดุลสารอาหาร
  • มีระบบย่อยที่ดีเนื่องจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์ต้องอาศัยระบบย่อยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Photography by ueamm


© 2024 FIRSTTHAINTP.COM