108 อาการอันตราย เมื่อกินไขมันไม่พอ



#firstthaintp #NTP #นักบำบัดโรคด้วยอาหาร

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP

เรารู้ว่าวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค และวิตามินอี และเราก็รู้ว่า คุณประโยชน์ของวิตามินเหล่านี้มีมหาศาล ทั้งนี้หากเรากินไขมันไม่เพียงพอ ในการทำหน้าที่เป็นตัวช่วยดูดซึมวิตามินจากลำไส้เล็กไปใช้ ฉะนั้นไม่ว่าจะกินวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค และวิตามินอี (ในรูปแบบอาหารหรือแบบเม็ด) ไปมากแค่ไหน ก็สูญเปล่า ร่างกายขับออกไปทิ้งเกลี้ยง ปล่อยให้ร่างกายเสี่ยง 108 อาการอันตราย เหล่านี้

วิตามินเอ

เป็นที่รู้จักในนาม “เรตินอล” ควบคุมการแสดงออกของยีน ทำงานเป็นแอนตี้อ็อกซิแดนท์ เป็นตัวตั้งต้นของตัวรับสัญญาณของต่อมไทรอยด์ ช่วยการเติบโตและควบคุมความผิดเพี้ยนของเซลล์ (ใช้ป้องกันและแก้โรคมะเร็ง) ช่วยรักษาการทำงานของหัวใจ ปอด ไต และอวัยวะอื่นให้ทำงานตามปกติ นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นสำหรับสุขภาพดวงตา ระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิต้านทาน สุขภาพผิวพรรณ และการสื่อสารของระบบเซลล์

ในปี 1930+ นักวิทยาศาสตร์พบว่า เด็กที่กินน้ำมันตับปลา ซึ่งมีวิตามินเอเข้มข้นนั้น สามารถลดการเกิดโรคหวัดได้ถึง 1 ใน 3 จึงเป็นการยืนยันว่า วิตามินเอช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อ ที่ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ ในการทำงานกับต่อมไทรอยด์นั้น วิตามินเอช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยให้อารมณ์เป็นปกติ ผิวพรรณดี ระบบสืบพันธุ์ทำงานเป็นปกติ มีระบบย่อยและการดูดซึมอาหารเป็นปกติ การทำงานของคอร์ติซอลเป็นปกติ สามารถควบคุมความเครียดได้ดี 

แหล่งวิตามินเอที่ดีที่สุดคือ ตับ จากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ (ซึ่งจะมีวิตามินดี 3 วิตามินเค 2 สังกะสี วิตามินอี และคอเรสเตอรอล เหมาะสมกับการสร้างเสริมการทำงานของวิตามินเอ) ปลาซาร์ดีน แซลมอน ไข่ปลา ไข่แดง หอย น้ำมันอีมู เนยจากวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า น้ำมันตับปลาก็มีทั้งวิตามินเอ และโอเมก้า 3 ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ดี ในคนที่ไม่สามารถกินตับสัตว์ได้ 

ส่วนวิตามินเอชนิดเม็ดนั้น จำเป็นต้องได้วิตามินดี 3 วิตามินเค 2 สังกะสี เพียงพอ เพื่อให้การทำงานของวิตามินเอเป็นไปได้อย่างดี ทั้งนี้ไม่ควรกินวิตามินเอเกินวันละ 2000 มิลลิกรัม 

เช็คความเข้าใจใหม่

เบต้าแคโรทีน ไม่ใช่วิตามินเอ

เบต้าแคโรทีนที่อยู่ในพืชผักสีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง คุณนอร่าเกดกัวดาสนางพยาบาล และกูรูนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ผู้เขียนหนังสือชื่อ Primal Fat Burner ยืนยันว่า ไม่ใช่วิตามินเอ แต่เบต้าแคโรทีนสามารถแปลงเป็นวิตามินเอได้ เมื่อปฏิกิริยาเคมีในร่างกายเหมาะสมดร.แมรี่ เกอร์ทรูด อีนิก นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลMaster of the American College of Nutrition ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Know Your Fat ที่มีชื่อเสียงระดับโลก กล่าวว่าการที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะเขือเทศอ้างว่ามีวิตามินเอนั้น ที่จริงมีแค่เบต้าแคโรทีนเท่านั้นและองค์การอาหารและยา (FDA) ก็อนุญาต

วิตามินดี

ซุปเปอร์วิตามิน ที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนมากกว่าวิตามิน กล่าวคือ วิตามินดีจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย ช่วยสร้างเสริมสุขภาพกระดูก ช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้ภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ต่อต้านมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยปกป้องกรดไขมัน EPA และ DHA ไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร และการทำงานของหัวใจ ป้องกันโรคไมเกรนและโรคทันตกรรมทั้งหลาย แถมยังช่วยการทำงานของวิตามินเค 2ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

         อย่างไรก็ตาม วิตามินดี ที่ร่างกายต้องการในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ข้างต้นนั้นคือ วิตามินดี 3 ซึ่งวิตามินดีจากพืช และวิตามินดีที่สังเคราห์และเติมลงในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นคือ วิตามินดี 2

ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี3 มาใช้ จากตัวตั้งต้นคือ คลอเรสเตอรอล และวิตามินดี 2 จากพืช และยูวีบีจากแสงอาทิตย์อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามปริมาณแสงอาทิตย์ที่แต่ละคนควรจะได้ ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวรับวิตามินดีจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการศึกษาเจาะลึกในประเด็นนี้ยังไม่กระจ่าง

ทั้งนี้ แหล่งวิตามินดี 3 ที่สำคัญคือ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ ปลาซาดีน แซลมอน ไข่ปลา และไข่แดง นกอีมูในทวีปออสเตรเลียก็เป็นแหล่งวิตามินดี 3 ที่ดี 

หากจำเป็นต้องกินวิตามินดี 3 ชนิดเม็ด อาจด้วยเหตุผลว่าอาศัยอยู่ในบางภูมิภาคของโลกที่ไม่ค่อยมีแสงอาทิตย์ ไม่กินเนื้อสัตว์เลย หรือร่างกายมีปัญหาเรื่องการจัดการไขมันในร่างกาย และยิ่งหากมีปัญหาโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ตัวเอง ควรกินวิตามินดี 3 ทุกวัน วันละ 600 IU

อย่างไรก็ดี หากมีการวัดวิตามินดีในร่างกาย ไม่ว่าหญิงหรือชายควรอยู่ในระดับ 35 – 60 ng/dL 

วิตามินเค

เราคุ้นเคยกับวิตามินเค ที่มีอยู่ในพืชใบเขียวจากต่างประเทศ เช่น เคล บร็อคโคลี่ ผักโขม ซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ซึ่งนั่นคือ วิตามินเค 1

ส่วนวิตามินเค 2 นั้น มีมากอยู่ในเนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ และอาหารหมักดอง มีความสำคัญต่อระบบการทำงานของกระดูก ที่จะต้องนำแคลเซียมและฟอสฟอรัสไปเกาะอยู่ในกระดูกและฟัน โดยตัวที่ทำหน้าที่นี้คือ โปรตีนชื่อ Osteocalcin ซึ่งจะต้องอาศัยวิตามินเอ วิตามินดี 3 และวิตามินเค 2 ช่วยให้โปรตีนตัวนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ วิตามินดี 3 และวิตามินเค 2 เป็นตัวจัดการให้แคลเซียมเกาะกระดูก มิเช่นนั้น ปราศจากวิตามินเค 2 แคลเซียมอาจไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ ข้อต่อต่าง ๆ

วิตามินเคชนิดเม็ดที่มีขายอยู่ทั่วไป และที่ฉีดให้ทารกแรกเกิดคือ วิตามินเค 1 ที่ทำหน้าที่ให้เลือดแข็งตัว แต่วิตามินเค 2นั้นยังไม่ค่อยมีให้เห็น เราจึงจำเป็นต้องกินจากอาหารเท่านั้น ซึ่งด้วยเทรนด์การกินที่นิยมงดการกินไขมัน ทำให้ปัญหาการขาดวิตามินเค 2 พบได้ในประชากรในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งวิตามินเค 2 นอกจากช่วยเรื่องกระดูกแล้ว ยังช่วยการทำงานของหัวใจ อวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแคลเซียม อีกทั้งยังป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณนอร่าแนะนำให้กินวิตามินเค 1 ไม่เกินวันละ 90 ไมโครกรัม และกินวิตามินเค2ไม่เกินวันละ 800 – 1000 ไมโครกรัม

วิตามินอี 

วิตามินอี ทำงานร่วมกับแอนตี้อ็อกซิแดนท์ที่ละลายในไขมันอย่างน้อยอีก8 ตัว หนึ่งในนั้นคือซีเรเนียม (ที่พบมากในเนื้อวัวที่เลี้ยงตามธรรมชาติ และบราซิลนัท) วิตามินอีพบมากในถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ

หากร่างกายขาดวิตามินอี จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ กล้ามเนื้อถูกทำลายง่าย เมื่อออกกำลังกาย โดรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับดวงตา โรคปอด และโรคตับ ปกติแล้ววิตามินที่ละลายในไขมัน มักมีหน้าที่สำคัญในการต้านการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคอ้วนอันมีผลมากจากโรคไขมันพอกตับ ช่วยสร้างเสริมการทำงานของสมอง ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ 

วิตามินอีเป็นสารตั้งต้นของเอนไซม์กลูต้าไธโอน ที่เป็นสารแอนตี้อ็อกซิแด้นท์ นอกจากนี้ยังป้องกันภาวะ peroxidized fats หรือภาวะที่ไขมันดีในร่างกายเกิดการเน่าเสีย

Fat soluble micronutrients

สารอาหารที่ต้องการไขมันช่วยดูดซึม ได้แก่

  1. คาโรทีนอยด์ เป็นสารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง 
  2. โคเอ็นไซม์คิวเท็น ทำหน้าที่เป็น power house of cells ให้ร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง โคเอ็นไซม์คิวเท็นจะทำหน้าที่นำไขมันในเลือดไปใช้เป็นพลังงาน
  3. PQQ หรือ Pyrroloquinoline Quinoneทำหน้าที่ช่วยเพิ่มจำนวนไมโตคอนเดรีย หรือที่เรารู้จักกันในนามpower house of cells ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์

อ้างอิง

Nora Gedgaudas, Primal Fat Burner, Atlantic Book, London 2018Elson M. Haas, MD, Buck Levin, PhD, RD, Staying Healthy With Nutrition, Ten Speed Press,


© 2024 FIRSTTHAINTP.COM